
การทำงาน
วงจรเพาเวอร์แอมป์ 741 ซึ่งยกตัวอย่างมาสำหรับใช้อธิบายการทำงานและวิเคราะห์วงจรไปด้วยกัน เริ่มจากสัญญาณอินพุตจะถูกส่งผ่าน C2 ค่า 1uF และ R9 ซึ่งวงจรบางวงจรอาจกำหนดค่า C ตำแหน่งนี้แตกต่างกันและเป็นที่ทราบกันดีว่าค่าความจุของ C ตำแหน่งนี้มีผลต่อการตอบสนองความถี่ต่ำกล่าวคือถ้าใส่ C ค่ามากๆจะได้เสียงย่านความถี่ต่ำเพิ่มขึ้นซึ่งหากพิจารณาแล้วภาคอินพุตของเพาเวอร์แอมป์ที่ประกอบไปด้วย C2,R9,R10 ก็คือวงจร Hi-pass filter หรือวงจรกรองความถี่สูงผ่านป้องกันแรงดัน DC เข้ามาภายในวงจรนั่นเอง สัญญาณเสียงจะถูกป้อนเข้าสู่ขา Non-Inverting ของออป-แอมป์เพื่อขยายสัญญาณแบบไม่กลับเฟส แหล่งจ่ายไฟของออป-แอมป์จะถูกลดแรงดันจากแหล่งจ่ายไฟหลัก +/-35Vdc ลงมาอยู่ที่ +/-15Vdc ใช้วิธีเร็กกูเลเตอร์แบบขนานโดยใช้ซีเนอร์ไดโอดประกอบไปด้วย R13,R14, D1,D2,C3 และ C4 สัญญาณเอาต์พุตที่ออกมาจากออป-แอมป์ไม่สามารถสวิงได้เกินแรงดันไฟเลี้ยงที่จ่ายให้ออป-แอมป์ ของไอซีเบอร์นั้นๆหรือกรณีมีการขยายสัญญาณเอาต์พุตมากเกินไปไม่เป็นผลดีนักทำให้ออป-แอมป์ไม่สามารถขยายสัญญาณความถี่สูงๆได้หรือขยายสัญญาณไม่ทันเวลาเนื่องจากค่า slew rate ของไอซีเบอร์741ทั่วๆไป มีค่าค่อนข้างต่ำคือ 0.5V/uS แต่ในเบอร์ HA17741 จะมี่ค่า slew rate สูงถึง 1V/us จึงจะทำให้เพาเวอร์แอมป์ที่ออกแบบขึ้นมาสามารถตอบสนองต่อสัญญาณความถี่สูงสุดตามต้องการได้โดยกำหนดค่า slew rate ไว้ที่ 0.5V/uS และเลือกความถี่สูงสุดไว้ที่ 20kHz ซึ่งความจริงหากเผื่อไว้ให้สูงกว่านี้ก็จะเป็นการดีแต่ว่าจะทำให้ได้สัญญาณเอาต์พุตของออป-แอมป์ที่ได้จะต่ำเกินไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น