วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Router อะไรคือ

Router อะไรคือ
1. Router คืออะไรความหมายของ Router อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน คล้ายกับบริดจ์ แต่มีส่วนการ ทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มากโดยเราท์เตอร์จะมีเส้นทางการเชื่อมโยงระหว่าง แต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า Routing Table ทำให้เราท์เตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทาง และเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทาง เพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
2. อธิบายการทำงานของ Routerการทำงานของ RouterRouter หน้าที่หลักของคือ การอ้างอิงไอพีแอดเดรสระหว่างเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่าย รวมที่ทั้งการเลือกและจัดเส้นทางที่ดีที่สุด เพื่อนำข้อมูลข่าวสาร ในรูปแบบของแพ็กเกจจากเครื่องลูกข่ายต้นทางบนเครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่ายหน้าที่ของเราเตอร์คือ จัดแบ่งเครือข่ายและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อนำส่งแพ็กเก็ต เราเตอร์จะป้องกันการบรอดคาสต์แพ็กเก็ตจากเครือข่ายหนึ่งไม่ให้ข้ามมายังอีกเครือข่ายหนึ่ง เมื่อเราเตอร์รับข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทางแล้ว จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการโปรแกรมไว้ เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ หากเส้นทาง ที่ส่งมาจากอีเทอร์เน็ต และส่งต่อออกช่องทางของ Port WAN ที่เป็นแบบจุดไปจุดก็จะมีการปรับปรุงรูปแบบสัญญาณให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ เพื่อส่งไปยังเครือข่าย WAN ได้
3. Routing Protocol คืออะไรRouting Protocol : โปรโตคอลเลือกเส้นทางRouting Protocol คือโพรโทคอลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆที่ทำงานในระดับ Network Layer (Layer 3) เช่น Router เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งข้อมูล (IP packet) ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ของอุปกรณ์ต่างๆตลอดเวลา เรียกว่าการทำงานของ Routing Protocol ทำให้เกิดการใช้งาน dynamic routing ต่อระบบเครือข่าย

4
. อธิบายการเลือกเส้นทางแบบ static และ dynamic การเลือกเส้นทางแบบ Static Routeการเลือกเส้นทางแบบ Static นี้ การกำหนดเส้นทางการคำนวณเส้นทางทั้งหมด กระทำโดยผู้บริหารจัดการเครือข่าย ค่าที่ถูกป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มีค่าที่ตายตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆ บนเครือข่าย จะต้องให้ผู้บริหารจัดการดูแล เครือข่าย เข้ามาจัดการทั้งสิ้นอย่างไรก็ดีการใช้ วิธีการทาง Static เช่นนี้ มีประโยชน์เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมดังนี้- เหมาะสาหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก- เพื่อผลแห่งการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่า ข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว- ไม่ต้องใช้ Software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้น- ช่วยประหยัดการใช้ แบนวิดท์ของเครือข่ายลงได้มาก เนื่องจากไม่มีปัญหาการ Broadcast หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Router ที่มาจากการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทางการเลือกเส้นทางแบบ Dynamic Routeการเลือกเส้นทางแบบ Dynamic นี้ เป็นการใช้ ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งมากับ Router เพื่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการเลือกเส้นทางระหว่าง Router โดยที่เราเรียกว่า โปรโตคอลเลือกเส้นทาง (Routing Protocol) ข้อดีของการใช้ Routing Protocol ได้แก่ การที่ Router สามารถใช้ Routing Protocol นี้เพื่อการสร้างตารางเลือกเส้นทางจากสภาวะของเครือข่ายในขณะนั้นประโยชน์ของการใช้ Routing Protocol มีดังนี้- เหมาะสาหรับเครือข่ายขนาดใหญ่- Router สามารถจัดการหาเส้นทางเองหากมีการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายเกิดขึ้นข้อแตกต่างระหว่าง Static Route กับ DynamicStatic Route- ไม่เพิ่มการทางานของ Router ในการ Update Routing Table ทาให้ Bandwidth ก็ไม่เพิ่มขึ้น- มีความปลอดภัยมากกว่า Dynamic Route เพราะ Dynamic Route เมื่อมีใครมาเชื่อมต่ออุปกรณ์ก็สามารถจะใช้งานได้เลย ไม่ตรงผ่านผู้ดูแลระบบ- Static Route จะใช้ในการสร้างเส้นทางสารองมากกว่าการสร้างเส้นทางหลักDynamic Route- ไม่ต้องทา Routing entry ทุก Subnet Address ที่ต้องการให้มองเห็น- สามารถตรวจสอบสถานะของ Link ได้ เช่น การ Down ลงไปของ Link

5. อธิบายการเลือกเส้นทางแบบ Link State และ Distance Vector Link-state Routing Protocol ลักษณะกลไกการทำงานแบบ Link-state routing protocol คือตัว Router จะ Broadcast ข้อมูลการเชื่อมต่อของเครือข่ายตนเองไปให้ Router อื่นๆทราบ ข้อมูลนี้เรียกว่า Link-state ซึ่งเกิดจากการคำนวณ Router ที่จะคำนวณค่าในการเชื่อมต่อโดยพิจารณา Router ของตนเองเป็นหลักในการสร้าง routing table ขึ้นมา ดังนั้นข้อมูล Link-state ที่ส่งออกไปในเครือข่ายของแต่ละ Router จะเป็นข้อมูลที่บอกว่า Router นั้นๆมีการเชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายใดอย่างไร และเส้นทางการส่งที่ดีที่สุดของตนเองเป็นอย่างไร โดยไม่สนใจ Router อื่น และกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในเครือข่าย เช่น มีบางวงจรเชื่อมโยงล่มไปที่จะมีการส่งข้อมูลเฉพาะที่มีการเปลี่ยนแปลงไปให้ ซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มากตัวอย่างโปรโตคอลที่ใช้กลไกแบบ Link-state ได้แก่ โปรโตคอล OSPF (Open Shortest Path First) สำหรับ Interior routing protocol นี้บางแห่งก็เรียกว่า Intradomain routing protocolDistance-vector Routing Protocol ลักษณะที่สำคัญของการติดต่อแบบ Distance-vector คือ ในแต่ละ Router จะมีข้อมูล routing table เอาไว้พิจารณาเส้นทางการส่งข้อมูล โดยพิจารณาจากระยะทางที่ข้อมูลจะไปถึงปลายทางเป็นหลัก ดังรูปจากรูป Router A จะทราบว่าถ้าต้องการส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายไปยังเครื่องที่อยู่ใน Network B แล้วนั้น ข้อมูลจะข้าม Router ไป 1 ครั้ง หรือเรียกว่า 1 hop ในขณะที่ส่งข้อมูลไปยังเครื่องใน Network C ข้อมูลจะต้องข้ามเครือข่ายผ่าน Router A ไปยัง Router B เสียก่อน ทำให้การเดินทางของข้อมูลผ่านเป็น 2 hop อย่างไรก็ตามที่ Router B จะมองเห็น Network B และ Network C อยู่ห่างออกไปโดยการส่งข้อมูล 1 hop และ Network A เป็น2 hop ดังนั้น Router A และ Router B จะมองเห็นภาพของเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่แตกต่างกันเป็นตารางข้อมูล routing table ของตนเอง จากรูปการส่งข้อมูลตามลักษณะของ Distance-vector routing protocol จะเลือกหาเส้นทางที่ดีที่สุดและมีการคำนวณตาม routing algorithm เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมา ซึ่งมักจะเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดและมีจำนวน hop น้อยกว่า โดยอุปกรณ์ Router ที่เชื่อมต่อกันมักจะมีการปรับปรุงข้อมูลใน routing table อยู่เป็นระยะๆ ด้วยการ Broadcast ข้อมูลทั้งหมดใน routing table ไปในเครือข่ายตามระยะเวลาที่ตั้งเอาไว้ การใช้งานแบบ Distance-vector เหมาะกับเครือข่ายที่มีขนาดไม่ใหญ่มากและมีการเชื่อมต่อที่ไม่ซับซ้อนเกินไป ตัวอย่างโปรโตคอลที่ทำงานเป็นแบบ Distance-vector ได้แก่ โปรโตคอล RIP (Routing Information Protocol) และโปรโตคอล IGRP (Interior Gateway Routing Protocol) เป็นต้น 
6. อธิบายการทำงานของ Routing Information Protocol (RIP)routing information Protocol (RIP)เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางประเภท Distance Vector ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายขนาด เล็กไปจนถึงขนาดกลาง เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางมาตรฐานที่ไม่ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตรายใด มี RIP Version 1 ที่ได้รับมาตรฐาน RFC 1058 เป็นโปรโตคอลที่เรียบง่าย อีกทั้งยังง่ายต่อการจัดตั้งคุณลักษณะการทำงานของ RIP- RIP อาศัย ค่าของจำนวน Hop เป็นหลัก เพื่อการเลือกเส้นทาง โดยจำกัดที่ไม่เกิน 15 Hop- RIP จะส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทางออกไปทุก 30 วินาที- การส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงตารางเส้นทาง เป็นการส่งออกไปทั้งหมดของตารางทั้งที่เป็นของเก่าและของใหม่- การส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทาง จะเกิดขึ้นกับ Router ที่เชื่อมต่อกันโดยตรงเท่านั้น

7. อธิบายหลักการทำงานของ Open Shortest Path First (OSPE) ระบบ OSPF จะแบ่งเราเตอร์ออกเป็นเขตย่อยๆ หรือพื้นที่ย่อยๆ ที่มีความสำพันธ์กันหรือใช้โพรโตคอลที่ใช้ ในการติดต่อต่างกันและจะเลือกเราเตอร์ขึ้นมาอย่างน้อยหนึ่งตัวที่ใช้ติดต่อระหว่างแต่ละพื้นที่ เรียกว่า เราเตอร์ตัวแทนหรือเราเตอร์ชายแดนและจะมีพื้นที่พิเศษในระบบออโตโนมัสซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนศูนย์กลางของระบบ เรียกว่า Backbone พื้นที่อื่นๆจะต้องมีจุดเชื่อมต่อเข้ากับ Backbone เสมอ และ backbone จะมีหมายเลขพื้นที่เท่ากับ 0 เสมอ การหาระยะทางของเราเตอร์จะส่งแพ็กเก็ตที่เรียกว่า Hello Packet ไปยังเราเตอร์อื่นๆแบบ Floding เมื่อเราเตอร์อื่นได้รับจะต้องตอบกลับแพ็กเก็ตทันทีและแต่ละเราเตอร์ก็จะสร้างตารางระยะทางไปยังเราเตอร์อื่นๆจากข้อมูลที่ได้รับ โดยใช้เราเตอร์ของตัวเองเป็นรากหรืออาจจะคำนวณระยะทางระหว่างเราเตอร์โดยมี ค่าน้ำหนัก ที่คำนวณได้มาจากระยะทาง เวลาการรอคอย และองค์ประกอบอื่นๆที่ต้องการ โดยการพิจารณาการรอคอยนั้นจะมีการส่งแพ็กเก็ตพิเศษ (Echo Packet) ที่กำหนดให้เราเตอร์ที่ได้รับต้องส่งนี้กลับทันทีทำให้ทราบเวลาการรอคอยที่แน่ชัด และคำนวณหาระยะทางที่สั้นที่สุด ในการติดต่อระหว่างพื้นที่อื่นๆจะมีตัวแทนจะเป็นตัวติดต่อและจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการติดต่อสื่อสารกันตลอดเวลาที่กำหนดไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างพื้นที่หรือนอกพื้นที่
ส่วนประกอบภายในของ Router
CPU ทำหน้าที่ปฏิบัติตามชุดคำสั่งและควบคุมการโอนย้ายและประมวลผลของข้อมูลทั้งหมด
Random access memory (RAM) ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่กำลังทำงานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูลหรือการนำข้อมูลออก
ROM จะทำหน้าที่จัดเก็บการเริ่มต้นของโปรแกรมบูตสแตรปเตอร์, ซอฟแวร์ระบบปฏิบัติการและ power - on โปรแกรมการทดสอบวินิจฉัย
Non-volatile RAM (NVRAM) ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูล แต่ NVRAM มักใช้เก็บค่า Config ใช้ในการเริ่มการทำงานของ Computer  เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกปิดอย่างกระทันหันหรือไฟดับ ขณะทำการ Update อยู่
Flash memory คือ หน่วยความจำขนาดเล็กประเภท non-volatiole สามารถบันทึกข้อมูลลงไปได้โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ ข้อมูลไม่มีการสูญหายเมื่อปิดสวิตซ์  มีส่วนที่ใช้บันทึกข้อมูล เรียกว่า solid state chips ใช้กระบวนการทางไฟฟ้าในการบันทึกข้อมูลและมีตัวควบคุมการอ่านและเขียนในตัวเอง
Interfaces เป็นหน้าตาของ config เพื่อช่วยในการตั้งค่าของ router

วงจรเพาเวอร์แอมป์ 741

การทำงาน

                วงจรเพาเวอร์แอมป์ 741 ซึ่งยกตัวอย่างมาสำหรับใช้อธิบายการทำงานและวิเคราะห์วงจรไปด้วยกัน เริ่มจากสัญญาณอินพุตจะถูกส่งผ่าน C2 ค่า 1uF และ R9 ซึ่งวงจรบางวงจรอาจกำหนดค่า C ตำแหน่งนี้แตกต่างกันและเป็นที่ทราบกันดีว่าค่าความจุของ C ตำแหน่งนี้มีผลต่อการตอบสนองความถี่ต่ำกล่าวคือถ้าใส่ C ค่ามากๆจะได้เสียงย่านความถี่ต่ำเพิ่มขึ้นซึ่งหากพิจารณาแล้วภาคอินพุตของเพาเวอร์แอมป์ที่ประกอบไปด้วย C2,R9,R10 ก็คือวงจร Hi-pass filter หรือวงจรกรองความถี่สูงผ่านป้องกันแรงดัน DC เข้ามาภายในวงจรนั่นเอง  สัญญาณเสียงจะถูกป้อนเข้าสู่ขา Non-Inverting ของออป-แอมป์เพื่อขยายสัญญาณแบบไม่กลับเฟส แหล่งจ่ายไฟของออป-แอมป์จะถูกลดแรงดันจากแหล่งจ่ายไฟหลัก +/-35Vdc ลงมาอยู่ที่ +/-15Vdc ใช้วิธีเร็กกูเลเตอร์แบบขนานโดยใช้ซีเนอร์ไดโอดประกอบไปด้วย R13,R14, D1,D2,C3 และ C4 สัญญาณเอาต์พุตที่ออกมาจากออป-แอมป์ไม่สามารถสวิงได้เกินแรงดันไฟเลี้ยงที่จ่ายให้ออป-แอมป์ ของไอซีเบอร์นั้นๆหรือกรณีมีการขยายสัญญาณเอาต์พุตมากเกินไปไม่เป็นผลดีนักทำให้ออป-แอมป์ไม่สามารถขยายสัญญาณความถี่สูงๆได้หรือขยายสัญญาณไม่ทันเวลาเนื่องจากค่า slew rate ของไอซีเบอร์741ทั่วๆไป มีค่าค่อนข้างต่ำคือ 0.5V/uS แต่ในเบอร์ HA17741 จะมี่ค่า slew rate สูงถึง 1V/us จึงจะทำให้เพาเวอร์แอมป์ที่ออกแบบขึ้นมาสามารถตอบสนองต่อสัญญาณความถี่สูงสุดตามต้องการได้โดยกำหนดค่า slew rate ไว้ที่ 0.5V/uS และเลือกความถี่สูงสุดไว้ที่ 20kHz  ซึ่งความจริงหากเผื่อไว้ให้สูงกว่านี้ก็จะเป็นการดีแต่ว่าจะทำให้ได้สัญญาณเอาต์พุตของออป-แอมป์ที่ได้จะต่ำเกินไป 

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

joomla คืออะไร?


joomla คืออะไร?PDFพิมพ์อีเมล
joomlaJoomla คือซอฟต์แวร์ระบบการจัดการข้อมูล (Content Management System-CMS) ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวด ซึ่งทำให้คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ หรือระบบงานออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ
มีข้อดีหลายประการที่รวมอยู่ใน Joomla เช่น การใช้งานง่าย และสามารถขยายความสามารถได้โดยใช้โปรแกรเสริม จึงทำให้ Joomla เป็นซอฟต์แวร์สำหรับการสร้างเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้ แต่เหนือสิ่งอื่นใด Joomla เป็นซอฟต์แวร์เปิดเผยรหัส (Opensource) ที่ทุกคนสามารถใช้ได้ฟรีและอิสระ

CMS คืออะไร?

Content Management System (CMS) คือซอฟต์แวร์ที่ติดตามการทำงานของส่วนประกอบต่างๆของเว็บไซต์ ทำหน้าที่คล้ายกับห้องสมุดที่ต้องจดบันทึกหนังสือทุกเล่มในห้องสมุด และสามารถเรียกใช้ หรือค้นหาได้เมื่อต้องการ เนื้อหาของเว็บที่เก็บบันทึก ได้แก่ ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ เพลง ไฟล์ข้อมูลเอกสาร เป็นต้น ประโยชน์หลักของ CMS คือ เราสามารถสร้างเว็บได้โดยไม่ต้องมีทักษะด้านเทคนิค หรือความรู้ในการบริหารจัดการ เพราะ CMS จะจัดการทุกอย่างแทนเราได้ทั้งหมด
 ขอบคุณ     http://training.ebistoday.com

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

VLAN คืออะไร


VLAN คืออะไร
VLAN ย่อมาจาก Virtual LAN เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการจำลองสร้างเครือข่าย LAN แต่ไม่ขึ้นอยู่กับการต่อทางกายภาพเช่น สวิตช์หนึ่งตัวสามารถใช้จำลองเครือข่าย LAN ได้ห้าเครือข่าย หรือสามารถใช้สวิตช์สามตัวจำลองเครือข่าย LAN เพียงหนึ่งเครือข่าย เป็นต้น
ในการสร้าง VLAN โดยใช้อุปกรณ์เครือข่ายหลายตัว จะมีพอร์ตที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัว เรียก Trunk port ซึ่งเสมือนมีท่อเชื่อม หรือ Trunk เป็นตัวเชื่อมด้วย
เนื่องจาก VLAN เป็น LAN แบบจำลอง ถึงแม้ว่าจะต่อทางกายภาพอยู่บนอุปกรณ์เครือข่ายตัวเดียวกัน แต่การติดต่อกันนั้นจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่มีความสามารถในการค้นหาเส้นทาง เช่น เราเตอร์ หรือสวิตช์เลเยอร์สาม
ลักษณะพิเศษของ VLAN ทั่วๆ ไปคือ
1. VLAN แต่ละเครือข่ายที่ติดต่อกันนั้น จะมีลักษณะเหมือนกับต่อแยกกันด้วยบริดจ์
2. VLAN สามารถต่อข้ามสวิตช์หลายตัวได้
3. ท่อเชื่อม (Trunks) ต่างๆ จะรองรับทราฟฟิกที่คับคั่งของแต่ละ VLAN ได้
ชนิดของ VLAN
1. Layer 1 VLAN : Membership by ports
ในการแบ่ง VLAN จะใช้พอร์ตบอกว่าเป็นของ VLAN ใด เช่นสมมุติว่าในสวิตช์ที่มี 4 พอร์ต กำหนดให้ พอร์ต 1, 2 และ 4 เป็นของ VLAN เบอร์ 1 และพอร์ตที่ 3 เป็นของ VLAN เบอร์ 2 ดังรูปที่ 1
    Port
    VLAN
    1
    1
    2
    1
    3
    2
    4
    1
รูปที่ 1 แสดงการกำหนดพอร์ตให้กับ VLAN

2. Layer 2 VLAN : Membership by MAC Address
ใช้ MAC Address ในการแบ่ง VLAN โดยให้สวิตช์ตรวจหา MAC Address จากแต่ละ VLAN ดูรูปที่ 2
      MAC Address
      VLAN
      1212354145121
      1
      2389234873743
      2
      3045834758445
      2
      5483573475843
      1
รูปที่ 2 แสดงการกำหนด MAC Address ให้กับ VLAN ต่างๆ
3. Layer 2 VLAN : Membership by Protocol types
แบ่ง VLAN โดยใช้ชนิดของ protocol ที่ปรากฎอยู่ในส่วนของ Layer 2 Header ดูรูปที่ 3
      Protocol
      VLAN
      IP
      1
      IPX
      2
    รูปที่ 3 แสดงการแบ่ง VLAN โดยใช้ชนิดของ protocol กำหนด

    4. Layer 3 VLAN : Membership by IP subnet Address
    แบ่ง VLAN โดยใช้ Layer 3 Header นั่นก็คือใช้ IP Subnet เป็นตัวแบ่ง
    IP Subnet
    VLAN
    23.2.24
    1
    26.21.35
    2
    รูปที่ 4 แสดงการแบ่ง VLAN โดยใช้ IP Subnet
    5. Higher Layer VLAN's
    VLAN ทำได้โดยใช้โปรแกรมประยุกต์หรือ service แบ่ง VLAN เช่นการใช้โปรแกรม FTP สามารถใช้ได้ใน VLAN 1 เท่านั้น และถ้าจะใช้ Telnet สามารถเรียกใช้ได้ใน VLAN 2 เท่านั้น เป็นต้น
    ขอบคุณ http://thaicert.nectec.or.th

    วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554


    ระบบอินเตอร์เน็ต

    ผังแสดงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet)
    ผู้สนับสนุนผู้สนับสนุน
    รับผู้สนับสนุน
    ประวัติความเป็นมา
    อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
    ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น
    ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
    ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
    ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
    ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
    ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา

                    ขอบคุณ  http://www.thaiall.com  

    คอมพิวเตอร์กราฟิก


     ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก
                 
    กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซื่งใช้การสื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายของข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้รับสารต้องการ
                คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช ้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ เช่น การทำตกแต่งภาพที่เรียกว่า Image Retouching ภาพคนแก่      
          ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ
     ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์กราฟิก
               ในปี ค.ศ. 1940 คอมพิวเตอร์จะแสดงภาพกราฟิกโดยใช้เครื่องพิมพ์ โดยรูปภาพที่ได้จะเป็นภาพที่เกิดจากการใช้ตัวอักษรมาประกอบกัน ในปี ค.ศ. 1950 สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาซูเซสต์
         ( Massachusetts Institue Technology : MIT] ได้พัฒนาคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหลอดภาพ CRT(CathodeRayTube)เป็นส่วนแสดงผลแทนเครื่องพิมพ์เนื่องจากมีความต้องการที่จะให้การติดต่อระหว่างผู้ใช้
         กับเครื่องคอมพิวเตอร์มีความเร็วยิ่งขึ้น ในปี ค.ศ. 1950 ระบบ SAGE (Semi - Automatic Ground Environment) ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาสามารถแปลงสัญญาณจากเรดาร์ ให้เป็นภาพบนจอ
         คอมพิวเตอร์ได้ ระบบนี้เป็นระบบกราฟิก เครื่องแรกที่ใช้ปากกาแสง ( Light Pen : เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลชนิดหนึ่ง) สำหรับการเลือกสัญลักษณ์ บนจอภาพได้ ในปี ค.ศ. 1950 - 1960     
         มีการทำวิจัยเรื่องเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก
                ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบของระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกสมัยใหม่ ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1963 วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของ อีวาน ซูเธอร์แลนด์ ( Ivan Sutherland) เป็นการพัฒนาระบบการวาดเส้น      ซึ่งผู้ใช้สามารถกำหนดจุดบนจอภาพได้โดยตรงโดยการใช้ปากกาแสง จากนั้นระบบกราฟิกจะสามารถลากเส้นเชื่อมจุดต่างๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน กลายเป็นภาพโครงสร้างรูปหลายเหลี่ยม    
         ระบบนี้ได้กลายเป็นหลักการพื้นฐานของโปรแกรมช่วยในการออกแบบระบบงานต่างๆ เช่น การออกแบบระบบไฟฟ้า และการออกแบบเครื่องจักร เป็นต้น ในระบบหลอดภาพ CRT สมัยแรกนั้น     
         เราสามารถวาดเส้นตรงระหว่างจุดสองจุดบนจอภาพได้ แต่ภาพเส้นที่วาดจะจางหายไปจากจอภาพอย่างรวดเร็ว จึงต้องมีการวาดซ้ำลงที่เดิมหลายๆ ครั้งในหนึ่งวินาที เพื่อให้เราสามารถมองเห็นว่า
         เส้นไม่จางหายไป ซึ่งระบบแบบนี้มีราคาแพงมากในช่วงต้นปี ค.ศ. 1960
                 แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1965 จึงมีราคาถูกลงเนื่องจากบริษัท ไอบีเอ็ม ( IBM) ได้ผลิตออกมาขายเป็นจำนวนมากในราคาเครื่องละ 100,000 ดอลลาร์ จากการที่ราคาของจอภาพถูกลงมากนี่เอง     
          ทำให้สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิกเริ่มเป็นที่สนใจของคนทั่วไป นปี ค.ศ. 1968 บริษัท เทคโทรนิกส์ ( Tektronix) ได้ผลิตจอภาพแบบเก็บภาพไว้ได้จนกว่าต้องการจะลบ ( Storage - Tube CRT)     
         ซึ่งระบบนี้ไม่ต้องการหน่วยความจำและระบบการวาดซ้ำ จึงทำให้ราคาถูกลงมาก บริษัทตั้งราคาขายไว้เพียง 15,000 ดอลลาร์เท่านั้น จอภาพแบบนี้จึงเป็นที่นิยมกันมากในช่วงเวลา 5 ปี ต่อมา กลางปี
         ค.ศ. 1970 เป็นช่วงเวลาที่อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์เริ่มมีราคาลดลงมาก ทำให้ฮาร์ดแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกมีราคาถูกลงตามไปด้วย ผู้ใช้ทั่วไปจึงสามารถนำมาใช้ในงานของตนได้     
         ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกเริ่มแพร่หลายไปในงานด้านต่างๆ มากขึ้น
                 สำหรับซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกก็ได้มีการพัฒนาควบคู่มากับฮาร์ดแวร์เช่นกัน ซึ่งมีการเริ่มต้นจาก อีวาน ซูเธอร์แลนด์ ผู้ซึ่งได้ออกแบบวิธีการหลักๆ รวมทั้งโครงสร้างข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร
    ์     กราฟิก ต่อมาก็มี สตีเฟน คูน ( Steven Coons, 1966) และ ปิแอร์ เบเซอร์ ( Pierre Bazier , 1972) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเส้นโค้งและภาพพื้นผิว ทำให้ปัจจุบันเราสามารถสร้างภาพ 3 มิติ ได้สมจริงสมจัง
         มากขึ้น ในช่วง 10 ปีต่อมาได้มีการพัฒนาวิธีการสร้างภาพมากมายสำหรับใช้ในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก และปัจจุบันเราก็ได้เห็นผลงานที่สวยงามและแปลกตา ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิจัยต่างๆ
         ในอดีตนั่นเอง
     ภาพกราฟิกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ และแบบ 3 มิติ
                ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ เป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด สัญลักษณ์ การ์ตูนต่าง ๆ ในโทรทัศน์ เช่น ชินจัง โดเรม่อน
                  ภาพกราฟิกแบบ 3 มิติ เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติ เช่น 3D max, Maya ทำให้ได้ภาพที่มีสีและแสงเงาเหมือนจริง เหมาะสำหรับการออกแบบและสถาปัตยกรรม เช่น การผลิตรถยนต์
            และภาพยนตร์การ์ตูน 3 มิติ
                   

                                                                                                                                                                          ขอบคุณ http://www.punyisa.com

    วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก - Presentation Transcript


    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก - Presentation Transcript

    1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
    2. ความหมายของกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก
      • กราฟิก หมายถึง การสื่อความหมายด้วยการใช้ศิลปะและศาสตร์ทางการใช้เส้น ภาพวาด ภาพเขียน แผนภาพ ตลอดจนสัญลักษณ์ ทั้งสีและขาว - ดำ ซึ่งมีลักษณะเห็นได้ชัดเจน เข้าใจ ความหมายได้ทันที ตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
      • คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้างและการจัดการกับภาพกราฟิกโดยใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งการพัฒนาคอมพิวเตอร์กราฟิกเริ่มต้นมาจากการเป็น เทคนิคอย่างหนึ่งในการแสดงข้อมูลตัวเลข จำนวนมาก ๆ ให้อยู่ในรูปที่ชัดเจนกว่าเดิมและทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าเดิม เช่น ข้อมูลอาจแสดงได้ ในรูปของเส้นกราฟ แผนภาพ แผนภูมิ แทนที่จะเป็นตารางของตัวเลข จากนั้น การใช้ภาพกราฟิก แสดงผลแทนข้อมูลหรือข่าวสารที่ยุ่งยากก็มีการพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันมีการใช้ภาพกราฟิก ในงานทุก ๆ ด้าน ไม่ว่า ด้านธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรม งานศิลปะ การบันเทิง งานโฆษณา การศึกษา การวิจัย การฝึกอบรม และงานทางการแพทย์ จนเห็นได้ชัดเจนว่า คอมพิวเตอร์กราฟิก นั้นเริ่มมีความ สำคัญ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยงานในการออกแบบทางด้านกราฟิกให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว สะดวก ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือจำนวนมาก อีกทั้งผู้ออกแบบเองก็สามารถดูผลงานการออกแบบของ ตนเองได้ทันที
    3. หลักการใช้สีและแสงในเครื่องคอมพิวเตอร์
      • สีมีความสำคัญอย่างมากต่องานกราฟิก สีทำให้ภาพหรือสิ่งต่าง ๆ มีความสดใส สวยงามน่าสนใจ ในการใช้สีเพื่อสื่อความหมายในงานกราฟิก ควรจะได้ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเพื่อที่ จะได้นำสีไปใช้ประกอบในงานกราฟิก ให้งานนั้นสามารถตอบสนองได้ตรงตามจุดประสงค์มาก ที่สุด
    4. การแสดงสีระบบ Additive
      • สีในระบบ Additive ประกอบด้วยสีหลัก 3 สี คือ แดง (Red) เขียว (Green) น้ำเงิน (Blue) เรียกรวมกันว่า RGB หรือ แม่สี
      • รูปที่ 1.12 แสดงสีหลัก 3 สี
    5. ระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์
      • ระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์ ประกอบด้วย สีฟ้า (Cyan) สีม่วงแดง (Magenta) และสีเหลือง (Yellow) คือ ระบบ CMYK
      • แสงสีขาวจากธรรมชาติหรือแสงจากดวงอาทิตย์เกิดจากการผสมของแม่สีสามสี คือ
      • แดง เขียวและน้ำเงิน ซึ่งเหมือนกับสีที่ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ หากนำภาพดิจิตอลที่ทำจาก คอมพิวเตอร์ไปแสดงผลทางเครื่องพิมพ์ ภาพสีหรือเป็นฟิล์มสไลด์ จะได้สีที่ใกล้เคียงกับจอมอนิเตอร์ถ้านำไปใช้ทางการพิมพ์ เช่น หนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ สีสันจะผิดเพี้ยนไป เพราะทางการพิมพ์ใช้แม่สี ไซแอน มาเจนต้า และเหลือง (CMYK) ซึ่งผสมกันแล้วจะได้สีดำ นอกจากนี้ขอบเขตของสีก็ปรากฎแตกต่างกัน จอมอนิเตอร์สามารถแสดงสีได้สูงสุด 16.7 ล้านสี น้อยกว่าที่ตาคนเราสามารถมองเห็น ส่วนการพิมพ์อยู่ในระดับหมื่นสีเท่านั้น
    6. ประเภทและคุณลักษณะของแฟ้มภาพกราฟิก
      • 1. Windows Bitmap หรือ Bitmap File ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการวินโดวส์
      • 2. FlashPix
      • 3. Graphic Interchange Format ไฟล์ที่ใช้กันมากในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
      • 4. Interchang Format File/IFF Interleaved Bitmap Format
      นามสกุลที่ใช้เก็บ IFF/LBM ระบบปฏิบัติการ windows.Mac Windows ซอฟแวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมการเปลี่ยนแปลงบิตแมปบนซีพีเช่น Photoshop, Deluxe Paint ความสามารถทางด้านสี ขาวดำเกรย์ สเกล 256 สีหรือ RGB 24 บิต
      • 5. GEM Bitmap Image
      • 6. Joint Photographic Experts Group ไฟล์ที่มีขนาดเล็ก นิยมใช้ในการสร้างเว็บ
      • 7. MacPaint
      • 8. Microsoft Paint
      • 9. Kodak’s Photo CD
      • 10. Z-Soft PC Paintbrush Format
      • 11. TrueVision Targa
      • 12. Tagged Image File Format ไฟล์ที่ใช้ในงานเกี่ยวกับโปรแกรมสิ่งพิมพ์
    7. ไฟล์ที่มีการจัดเก็บแบบเวกเตอร์
      • 1. Drawing Interchange Format
      • 2. Lotus 1-2-3 Picture
      • 3. Hewlett Packard Graphics Language
    8. ไฟล์ที่มีการจัดเก็บแบบบิตแมปและเวกเตอร์
      • 1. Computer Graphic Metafile
      • 2. Encapsulated PostScript
      • 3. PICT / Macintosh QuickDraw Picture Format
      • 4. Portable Document Format
      • 5. Windows Metafile
    9. การใช้โปรแกรมกราฟิกแบบ Rastor
    10. ความสามารถของโปรแกรม Adobe Photoshop
      • โปรแกรม Photoshop เป็นโปรแกรมใช้ในการสร้างภาพและตกแต่งภาพ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่นิยมอย่างสูงสุดในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลงานที่ได้เหมาะที่จะใช้กับงานสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และงานมัลติมีเดีย คำว่า Photoshop คือ Photo แปลว่า “ ภาพ ” คำว่า Shop แปลว่า ร้านหรือแหล่งรวมของภาพหลายชนิด ภาพต่าง ๆ จะมีทั้งภาพที่เกิดจากการที่นำภาพที่มีอยู่เดิมมาตกแต่ง ภาพถ่ายในอัลบั้มรูป เราเรียกว่า Physical Graphic ภาพถ่ายที่ใช้เครื่องสแกนภาพหรือใช้กล้องดิจิตอลถ่ายเก็บไฟล์ข้อมูล เราเรียกว่า Digital Graphic
    11. ความสามารถของ Adobe Photoshop
      • 1. การทำงานเป็นเลเยอร์ (Layer) เหมือนการวางแผ่นใสซ้อน ๆ กัน
      • 2. การทำงานเป็นแบบ Interface Enchancement คือ ใช้ไอคอนและปุ่มคำสั่งต่าง ๆ
      • ลักษณะการโต้ตอบเป็นแบบ 3 มิต คลิกปุ่มจะยุบลงไป
      • 3. การทำงานของปุ่มคำสั่งจะมีคำอธิบายสั้น ๆ ของไอคอนบอกชื่อเครื่องมือ เรียก Tool Tip
      • 4. Action เป็นการบันทึกขั้นตอนการทำงานเก็บไว้ ในกลุ่มเดียวกัน
      • 5. Ruler & Guide & Grid เส้นจาง ๆ ที่ลากผ่านรูป ช่วยจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ขอบภาพ
      • 6. Gradient Feature สามารถสร้างรูปแบบการไล่โทนสีได้ด้วยตัวเอง
      • 7. Adjustment Layer เป็นเลเยอร์ชั่วคราวสำหรับกำหนดพื้นที่และรูปแบบการปรับแต่ง
      • 8. Transformation Feature สามารถเปลี่ยนรูปทรงของภาพ หมุน ขยาย ให้มีมิติ
      • 9. Modified Image Size Command สามารถกำหนดขนาดไฟล์ภาพ ความละเอียด ความกว้างและความยาวของภาพได้พร้อม ๆ กัน
      • 10. Save For Web ไฟล์ภาพที่ใช้บนเว็บ ต้องมีลักษณะพิเศษ เพื่อให้สามารถเรียกขึ้นมาใช้ งานได้เร็ว Photoshop
      • 11. การสนับสนุนการทำงานด้าน Web ด้วยโปรแกรม ImageReady เป็นโปรแกรมช่วยสนับสนุนการสร้างและออกแบบเว็บเพจบนอินเตอร์เน็ต
      • 12. Slicing เทคนิคพิเศษช่วยแบ่งภาพออกเป็นส่วน ๆ เพื่อสร้างป้ายโฆษณาบนเว็บ (Banner)
      • และปุ่มกดสำหรับเป็นจุดเชื่อมโยง (Link) ไปยังเว็บไซด์ต่าง ๆ
      • 13. Rollover ช่วยสร้าง Effect ที่เป็นลูกเล่นเมื่อเลื่อนตัวชี้เมาส์ผ่านปุ่ม
      • 14. Animation เป็นภาพเคลื่อนไหวโดยอาศัยเทคนิคการนำภาพนิ่งหลายเฟรมมาเรียงต่อกัน
    12. การเข้าสู่โปรแกรม Adobe Photoshop
      • 1. คลิกปุ่ม Start คลิกรายการ
      • 2. คลิกรายการ Programs
      • 3. คลิกรายการ Adobe Photoshop 7.0 หรือ
      • 4. คลิกรายการ Adobe Photoshop CS
      • 5. รอสักครู่จะปรากฎหน้าต่างของโปรแกรม Adobe Photoshop 7.0 หรือ Adobe Photoshop CS
    13. ส่วนประกอบของโปรแกรม Adobe Photoshop
    14. การใช้ปุ่มเครื่องมือ ToolBox จัดการเกี่ยวกับรูปภาพแบ่งได้ 4 หมวด
    15. ปุ่มเครื่องมือเพิ่มเติมใหม่ใน Photoshop CS V 8.0
    16. พาเลตต์ต่าง ๆ (Palettes) ในโปรแกรม Adobe Photoshop
      • Navigator ใช้สำหรับดูมุมมองของงาน
      • เหมือน Hand Tool และ Zoom Tool
      • Info ใช้สำหรับค่าสีของภาพ ณ จุดนั้น ๆ
      • บอกค่าสี RGB และ CMYK ใช้กับปุ่ม
      • Eyedropper
      • Histograms การใช้กราฟแสดงค่าสี