วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แอพพลิเคชั่นที่บนแอนดรอยด์โฟน

หากคุณมีโทรศัพท์มือถือ Android อยู่ในมือแล้วอย่ารอช้า เพราะแอพพลิเคชั่นนับหมื่นรอคุณอยู่ในแอนดรอยด์มาร์เก็ตแล้ว (Android market) ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมสารพัดการใช้งาน เกมส์สุดมันส์จากค่ายต่างๆ เพียงแค่เข้าไปที่ Android market แล้ว Sign in ด้วย Google account เพียงเท่านี้คุณก็สามารถเลือกดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้ไม่จำกัด และที่สำคัญคือฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายมากวนใจด้วย เบื่อ หรือไม่ชอบแอพพลิเคชั่นไหนก็ไม่ต้องเสียดาย ลบทิ้งได้ตามต้องการ แต่หากเลือกไม่ถูกว่าจะลองใช้แอพพลิเคชั่นไหน มาลองดูแอพพลิเคชั่นที่ควรมีติดเครื่องไว้ จะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย
1. CN Thai Keyboard
ไม่ว่าจะเป็นแอนดรอยด์ยี่ไหน รุ่นไร การพิมพ์ข้อความภาษาไทยยังไม่มีมาให้ เว้นเสียแต่ค่ายไหนจะใจดีติดตั้งมาให้ในตัว แต่ไม่เป็นปัญหาสำหรับแอนดรอยด์ เพราะมีโปรแกรมคีย์บอร์ดภาษาไทยมาให้เลือกถึง 2 ตัว แต่เราจะกล่าวถึงตัวแรกก่อนละกัน นั่นก็คือ CN Thai Keyboard เมื่อติดตั้งแล้วก็สามารถใช้ได้ทันทีทั้งแนวตั้ง และแนวนอน แต่ถ้าไม่ชอบใจ ข้ามไปดูที่ข้อ 2 ได้เลยครับ
ขนาด : 1.08 เมกะไบต์
2. Droidsans Thai Keyboard
ด้วยขนาดโปรแกรมที่เล็กกว่า CN Thai Keyboard ถึง 25 เท่า หรือประมาณ 43 กิโลไบต์เท่านั้น หน้าตาก็แทบไม่ต่างกัน จึงไม่กินทรัพยากรเครื่องสักเท่าไหร่ เอาเป็นว่าลองดาวน์โหลดมาใช้ทั้งสองเลยก็แล้วกัน ใช้ไปสักพักแล้วรู้สึกชอบโปรแกรมไหนก็ค่อยว่ากันอีกที
ขนาด : 42.92 กิโลไบต์
3. Thai Dict
คิดไม่ออก บอกไม่ถูก เมื่อเจอฝรั่งตัวเป็นๆ แต่ถ้ามีโปรแกรมไทยดิก (Thai Dict) โปรแกรมนี้แล้วจะช่วยคุณได้ไม่มากก็น้อย โปรแกรมสามารถแปลภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาไทยโดยอิงฐานข้อมูลคำศัพท์จากเล็กซิตรอน (Lexitron) ซึ่งพัฒนาโดยเนคเทค (NECTEC) บ้านเรานี่เอง จากการทดลองใช้งานพบว่ามันสามารถแปลภาษาไทยเป็นอังกฤษได้ด้วย ตัวโปรแกรมมีขนาดเกือบ 9 เมกะไบต์ อาจจะใหญ่สักหน่อย แต่คุ้มค่าเมื่อนำมาติดตั้งใช้งาน
ขนาด : 8.99 เมกะไบต์
4. Google Goggles
ถ้าหากว่าเดินไปเที่ยวเล่นนอกบ้านแล้วเกิดสงสัยขึ้นมาในใจว่าโลโก้ที่เห็นอยู่เป็นของบริษัทอะไร ต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับโลโก้มากกว่านี้ โปรแกรมกูเกิ้ล ก๊อกเกิ้ล (Google Goggles ช่วยท่านได้ เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วเปิดโปรแกรมจะมีคำอธิบายเล็กๆ น้อยๆ แต่เมื่อใช้งานจริงโปรแกรมจะให้เราถ่ายภาพโลโก้ที่เราต้องการ จากนั้นจะทำการสแกนภาพที่ได้ และเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูล โดยอาศัยการทำงานร่วมกับพิกัดที่เราอยู่เพื่อให้ได้ข้อมูลบริเวณที่เราอยู่ให้ได้มากที่สุด ใช้เวลาไม่นาน ข้อมูล และรายละเอียดก็มาพร้อมเสริฟที่หน้าจอเราแล้ว เจ๋งไหมล่ะ
ขนาด : 0.88 เมกะไบต์
5. twitter
ถ้าพูดถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ แอพพลิเคชั่นที่จะไม่พูดถึงไม่ได้นั่นก็คือทวิตเตอร์ แต่ถ้าลองค้นหาดูในแอนดรอยด์มาเก็ตเราจะเห็นแอพพลิเคชั่นดังกล่าวหลากหลาย แต่ในที่นี้เราจะเอ่ยถึงโปรแกรม twitter ซึ่งเป็นของเค้าที่พัฒนาขึ้นมาเองโดยเฉพาะ
ขนาด : 2.08 เมกะไบต์
6. Facebook for Android
ในเมื่อมีทวิตเตอร์แล้ว จะไม่มีเฟสบุ๊คได้อย่างไร แต่เมื่อค้นหาในแอนดรอยด์มาเก็ตแล้วอาจจะงงหน่อย เพราะมีหลายโปรแกรมเหลือเกิน แต่ถ้าจะให้ชัวร์สุดพิมพ์คำว่า Facebook for Android ไปเลยดีกว่า ตัวโปรแกรมก็มีฟังก์ชั่นให้ใช้งานครบครัน ไม่ว่าจะเป็นการคอมเมนท์ อัพโหลดรูปภาพก็ทำได้หมด แต่อย่าลืมล่ะว่าโปรแกรมต้องการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ถ้าสมัครแพ็คเก็จเสริมไว้แล้วก็ลุยโลด
ขนาด : 1.42 เมกะไบต์
7. Jewels
ปิดท้ายด้วยเกมส์ก็แล้วกัน เกมส์นี้มีชื่อว่าจีเวลส์ ชื่อก็อาจจะฟังดูคุ้นๆ แต่เมื่อได้เล่นแล้วใช่เลย มันคือเกมส์ที่ได้รับความนิยมบนคอมพิวเตอร์ และบนมือถือมาก่อน เล่นง่ายๆ เพียงแค่เรียงเพชรสีเดียวกัน แบบเดียวกันให้เป็นแถว ยิ่งถ้าเรียงต่อกันหลายๆ ชุดจะยิ่งได้คะแนนแบบทวีคูณ เอาไว้เล่นฆ่าเวลา หรือคลายเครียดก็ไม่เลวนะเนี่ย

ประวัติความเป็นมาของแอนดรอยด์

ประวัติความเป็นมา

เริ่มต้นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ถูกพัฒนามาจากบริษัท แอนดรอยด์ (Android Inc.) เมื่อปี พ.ศ 2546 โดยมีนาย แอนดี้ รูบิน (Andy Rubin) ผู้ให้กำเนิดระบบปฏิบัติการนี้ และถูกบริษัท กูเกิ้ล ซื้อกิจการเมื่อ เดือนสิงหาคม ปี พ.ศ 2548 โดยบริษัทแอนดรอยด์ ได้กลายเป็นมาบริษัทลูก ของบริษัทกูเกิ้ล และยังมีนาย แอนดี้ รูบิน ดำเนินงานอยู่ในทีมพัฒนาระบบปฏิบัติการต่อไป
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากการนำเอา แกนกลางของระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux Kernel) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อทำงานเป็นเครื่องให้บริการ (Server) มาพัฒนาต่อ เพื่อให้กลายเป็นระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา (Mobile Operating System)
ต่อมาเมื่อเดือน พฤศจิกายน ปี พ.ศ 2550 บริษัทกูเกิ้ล ได้ทำการก่อตั้งสมาคม OHA (Open Handset Alliance, http://www.openhandsetalliance.com) เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการกำหนดมาตรฐานกลาง ของอุปกรณ์พกพาและระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยมีสมาชิกในช่วงก่อนตั้งจำนวน 34 รายเข้าร่วม ซึ่งประกอบไปด้วยบริษัทชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจด้าการสื่อสาร เช่น โรงงานผลิตอุปกรณ์พกพา, บริษัทพัฒนาโปรแกรม, ผู้ให้บริการสื่อสาร และผู้ผลิตอะไหล่อุปกรณ์ด้านสื่อสาร
[[รูป 1-3 : สมาคม OHA (Open Handset Alliance)]] 
สมาคม OHA (Open Handset Alliance
หลังจากนั้น เมื่อเดือนตุลาคม ปี พ.ศ 2551 บริษัท กูเกิ้ล ได้เปิดตัวมือถือตัวแรกที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ที่ชื่อ T-Mobile G1 หรืออีกชื่อนึงคือ HTC Dream โดยใช้แอนดรอยด์รุ่น 1.1 และหลังจากนั้น ได้มีการปรับพัฒนาระบบปฏิบัติการเป็นรุ่นใหม่ มาเป็นลำดับ
[[รูป 1-4 : T-Mobile G1/HTC Dream]] [[01-04-01.bmp]]
T-Mobile G1/HTC Dream
ช่วงต่อมาได้มีการออกผลิตภัณฑ์จากบริษัทต่างๆ ออกมาหลากหลายรุ่น หลากหลายยี่ห้อ ตามการพัฒนาระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้สินค้าของแอนดรอยด์ มีให้เลือกอยู่อย่างมากมาย
[[รูป 1-5 : Android Device]] 
Samsung: Nexus SHTC: EVO 4GMotorola: Droid2
Samsung: Nexus SHTC: EVO 4GMotorola: Droid2
   
Motorola: XOOMHTC: Flyer 
Motorola: XOOMHTC: Flyer

โครงสร้างของแอนดรอยด์

โครงสร้างของแอนดรอยด์

การทำความเข้าใจโครงสร้างของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเพราะถ้านักพัฒนาโปรแกรม สามารถมองภาพโดยรวมของระบบได้ทั้งหมด จะให้สามารถเข้าใจถึงกระบวนการทำงานได้ดียิ่งขึ้น และสามารถนำไปช่วยในการออกแบบโปรแกรมที่ต้องการพัฒนา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
[[รูป 1-6 : Android Architecture]]
Android Architectureจากโครงสร้างของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จะสังเกตุได้ว่า มีการแบ่งออกมาเป็นส่วนๆ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน โดยส่วนบนสุดจะเป็นส่วนที่ผู้ใช้งานทำการติดต่อโดยตรงซึ่งก็คือส่วนของ (Applications) จากนั้นก็จะลำดับลงมาเป็นองค์ประกอบอื่นๆตามลำดับ และสุดท้ายจะเป็นส่วนที่ติดต่อกับอุปกรณ์โดยผ่านทาง Linux Kernel โครงสร้างของแอนดรอยด์ พอที่จะอธิบายเป็นส่วนๆได้ดังนี้
  • Applications ส่วน Application หรือส่วนของโปรแกรมที่มีมากับระบบปฏิบัติการ หรือเป็นกลุ่มของโปรแกรมที่ผู้ใช้งานได้ทำการติดตั้งไว้ โดยผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้โปรแกรมต่างๆได้โดยตรง ซึ่งการทำงานของแต่ละโปรแกรมจะเป็นไปตามที่ผู้พัฒนาโปรแกรมได้ออกแบบและเขียนโค้ดโปรแกรมเอาไว้
  • Application Frameworkเป็นส่วนที่มีการพัฒนาขึ้นเพื่อให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาโปรแกรมได้สะดวก และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนักพัฒนาไม่จำเป็นต้องพัฒนาในส่วนที่มีความยุ่งยากมากๆ เพียงแค่ทำการศึกษาถึงวิธีการเรียกใช้งาน Application Framework ในส่วนที่ต้องการใช้งาน แล้วนำมาใช้งาน ซึ่งมีหลายกลุ่มด้วยกัน ตัวอย่างเช่น
    • Activities Manager  เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งที่จัดการเกี่ยวกับวงจรการทำงานของหน้าต่างโปรแกรม(Activity)
    • Content Providers เป็นกลุ่มของชุดคำสั่ง ที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลของโปรแกรมอื่น และสามารถแบ่งปันข้อมูลให้โปรแกรมอื่นเข้าถึงได้
    • View System เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งที่เกี่ยวกับการจัดการโครงสร้างของหน้าจอที่แสดงผลในส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้งาน (User Interface)
    • Telephony Manager เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลด้านโทรศัพท์ เช่นหมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น
    • Resource Manager เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งในการเข้าถึงข้อมูลที่เป็น ข้อความ, รูปภาพ
    • Location Manager เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งที่เกี่ยวกับตำแหน่งทางภูมิศาตร์ ที่ระบบปฏิบัติการได้รับค่าจากอุปกรณ์
    • Notification Manager เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งที่จะถูกเรียกใช้เมื่อโปรแกรม ต้องการแสดงผลให้กับผู้ใช้งาน ผ่านทางแถบสถานะ(Status Bar) ของหน้าจอ
  • Libraries เป็นส่วนของชุดคำสั่งที่พัฒนาด้วย C/C++ โดยแบ่งชุดคำสั่งออกเป็นกลุ่มตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น Surface Manage จัดการเกี่ยวกับการแสดงผล, Media Framework จัดการเกี่ยวกับการการแสดงภาพและเสียง, Open GL | ES และ SGL จัดการเกี่ยวกับภาพ 3มิติ และ 2มิติ, SQLlite จัดการเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล เป็นต้น
  • Android Runtime จะมี Darvik Virtual Machine ที่ถูกออกแบบมา เพื่อให้ทำงานบนอุปกรณ์ที่มี หน่วยความจำ(Memmory), หน่วยประมวลผลกลาง(CPU) และพลังงาน(Battery)ที่จำกัด ซึ่งการทำงานของ Darvik Virtual Machine จะทำการแปลงไฟล์ที่ต้องการทำงาน ไปเป็นไฟล์ .DEX ก่อนการทำงาน เหตุผลก็เพื่อให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเมื่อใช้งานกับ หน่วยประมวลผลกลางที่มีความเร็วไม่มาก ส่วนต่อมาคือ Core Libraries ที่เป็นส่วนรวบรวมคำสั่งและชุดคำสั่งสำคัญ โดยถูกเขียนด้วยภาษาจาวา (Java Language)
  • Linux Kernel เป็นส่วนที่ทำหน้าที่หัวใจสำคัญ ในจัดการกับบริการหลักของระบบปฏิบัติการ เช่น เรื่องหน่วยความจำ พลังงาน ติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ความปลอดภัย เครือข่าย โดยแอนดรอยด์ได้นำเอาส่วนนี้มาจากระบบปฏิบัติการลินุกซ์ รุ่น 2.6 (Linux 26. Kernel) ซึ่งได้มีการออกแบบมาเป็นอย่างดี

รุ่นต่างๆ ของแอนดรอยด์

หลังจากที่บริษัท กูเกิ้ล ได้ซื้อบริษัท แอนดรอยด์ และได้มีการก่อตั้งสมาคม สมาคม OHA (Open Handset Alliance) เป็นที่เรียบร้อย ทางกูเกิ้ลก็ได้มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ขึ้นมาเป็นลำดับ โดยพอสังเขป ได้ดังนี้
  • รุ่น 1.0 , 23 กันยายน 2551
  • รุ่น 1.5 (Cupcake), 30 เมษายน 2552
  • รุ่น 1.6 (Donut), 15 กันยายน 2552
  • รุ่น 2.0 (Éclair), 26 ตุลาคม 2552
  • รุ่น 2.2 (Froyo), 20 พฤษภาคม 2553
  • รุ่น 2.3 (Gingerbread), 6 ธันวาคม 2553
  • รุ่น 3.0 (Honeycomb), 22 กุมภาพันธ์ 2554
[[รูป 1-7 : Android Logo]]
V1.5 CupcakeV1.6 DonutV2.0 Eclari
V1.5 CupcakeV1.6 DonutV2.0 Eclari
   
V2.2 FroyoV2.3 GingerbreadV3.0 Honeycomb
V2.2 FroyoV2.3 GingerbreadV3.0 Honeycomb
และภายในปี พ.ศ 2554 นี้ ทางบริษัทกูเกิ้ล มีแผนจะออกรุ่นใหม่อีก 1 รุ่น นับว่าเป็นการพัฒนาการ ของแอนดรอยด์ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่หากมองในส่วนของจำนวนผู้ใช้ต่อรุ่นแล้วนั้น จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก Android Market จะพบได้ว่า รุ่นที่มีการใช้งานมากที่สุด (ข้อมูล ณ 15 มีนาคม 2554) จะเป็นรุ่น 2.2 (Froyo)
[[รูป 1-8 : Current Distribution]] [[01-08-01.bmp]]
Current Distribution

ข้อเด่นของแอนดรอยด์

เนื่องจากระบบปฏิบัตการแอนดรอยด์มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีส่วนแบ่งตลาดของอุปกรณ์ด้านนี้ ขึ้นทุกขณะ ทำให้กลุ่มผู้ใช้งาน และกลุ่มนักพัฒนาโปรแกรม ให้ความสำคัญกับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพิ่มมากขึ้น
เมื่อมองในด้านของกลุ่มผลิตภัณฑ์ บริษัทที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ ได้มีการนำเอาระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ไปใช้ในสินค้าของตนเอง พร้อมทั้งยังมีการปรับแต่งให้ระบบปฏิบัติการมีความสามารถ การจัดวาง โปรแกรม และลูกเล่นใหม่ๆ ที่แตกต่างจากคู่แข่งในท้องตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มสินค้าที่เป็น มือถือรุ่นใหม่ (SmartPhone) และอุปกรณ์จอสัมผัส (Touch Screen) โดยมีคุณลักษณะแตกต่างกันไป เช่นขนาดหน้าจอ ระบบโทรศัพท์ ความเร็วของหน่วยประมวลผล ปริมาณหน่วยความจำ แม้กระทั่งอุปกรณ์ตรวจจับต่างๆ(Sensor)
หากมองในด้านของการพัฒนาโปรแกรม ทางบริษัท กูเกิ้ล ได้มีการพัฒนา Application Framework ไว้สำหรับนักพัฒนาใช้งาน ได้อย่างสะดวก และไม่เกิดปัญหาเมื่อนำชุดโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมา ไปใช้กับอุปกรณ์ที่มีคุณลักษณะต่างกัน เช่นขนาดจออุปกรณ์ ไม่เท่ากัน ก็ยังสามารถใช้งานโปรแกรมได้เหมือนกัน เป็นต้น

ก่อนจบบท

ในบทนี้เราได้ทำความรู้จักกับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ทั้งในเรื่องของประวัติ โครงสร้าง และความน่าสนใจ ทำให้เข้าใจได้ว่าระบบปฏิบัติการนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้นได้อย่างไร จึงเป็นโอกาสให้นักพัฒนาที่สนใจ ได้ศึกษาวิธีการเขียนโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์นี้ และสามารถพัฒนาระบบ แล้วแจกจ่ายหรือจำหน่าย ผ่านทาง Android Market ในบทต่อไป

ทิ้งท้าย

สำหรับข้อมูลในบทความนี้ ผมก็หวังว่าคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย สำหรับเพื่อนๆนักพัฒนาทุกท่าน แล้วพบกันใหม่กับ 9'M
 
 

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วงจรกรองความถี่ (Filter Circuit)


ชนิดของวงจรกรองความถี่มี 4 แบบคือ

  • low pass filter (ความถี่ต่ำกว่าผ่านได้) บางครั้งอาจจะเรียกว่าวงจร high-cut filter สำหรับ ความถี่วิทยุ และ treble cut filter สำหรับวงจรขยายเสียง
low pass filter (ความถี่ต่ำกว่าผ่านได้)
วงจร low pass filter มีลักษณะการต่อคือ ใช้ L อนุกรมกับวงจร และ C ขนานกับวงจร คุณสมบัติของวงจรก็คือ เมื่อเราป้อนความถี่ ต่ำเข้าวงจร L จะมีค่า XL ต่ำ C จะมีค่า XC สูง ทำให้ความถี่ ต่ำผ่าน L ได้สะดวก ระดับสัญญาณ Output จึงผ่านได้มาก แต่เมื่อความถี่สูงกว่าจุดที่กำหนด ค่า XL จะมากขึ้น ค่า XC จะลดลง ทำให้ความถี่ ผ่านขดลวดได้ลดลง บางส่วนที่ผ่านไปได้ก็จะถูก C ดึงลงกราวด์ ระดับสัญญาณ Output จึงผ่านได้น้อยมาก
วงจร low pass filter ยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
  • T Type low pass filter การใช้ L หรือ C เพียงตัวเดียว ไม่สามารถกำจัดสัญญาณความถี่สูงได้หมด ตรงจุด Cut Off ทำให้ความถี่สูงผ่านไปได้ เราจึงแก้ปัญหาโดยการเพิ่ม L เข้าไปในวงจรอีกชุด เมื่อต่อแล้ว ลักษณะวงจรคล้าย ตัว T เราจึงเรียกว่า วงจรกรองความถี่ต่ำผ่าน แบบที การกรองความถี่ ถ้าต้องการประสิทธิภาพ เราอาจจะใช้วงจรนี้หลายชุด
T Type low pass filter
  • Pi Type low pass filter วงจรนี้จะใช้ C 2 ตัวและ L 1 ตัว ต่อกันดังรูป รูปร่างคล้ายตัว Pi (พาย) เราก็เรียกกันว่า วงจรกรองความถี่ต่ำผ่าน แบบพาย วงจรแบบนี้จะนิยมใช้ในภาคจ่ายไฟ และวงจร Regulator
Pi Type low pass filter
ตัวอย่างวงจร low pass filter ในย่าน วิทยุ FM 88 -108 MHz สามารถทนกำลังส่งได้ 800 วัตต์ ใช้ขดลวดเบอร์ 8 Awg และใช้ C แบบ Metal clad silver teflon caps
low pass filter ในย่าน วิทยุ FM 88 -108 MHz
วงจร low pass filter ที่กล่าวมาข้างต้น จะนำมาใช้ในวิทยุรับส่ง เมื่อ ไม่ต้องการให้สัญญาณความถี่ harmonic (ความถี่ harmonic จะสูงกว่าความถี่ที่ใช้งาน เป็นเท่าตัว เช่น 2 เท่า 3 เท่า เป็นต้น) จากเครื่องส่งของเราไปรบกวนระบบอื่น ๆ



  • high pass filter (ความถี่สูงกว่าผ่านได้) บางครั้งอาจจะเรียกว่าวงจร Low-cut filter สำหรับ ความถี่วิทยุ และ bass-cut filte สำหรับวงจรขยายเสียง
high pass filter (ความถี่สูงกว่าผ่านได้)
วงจรนี้จะยอมให้ความถี่ที่สูงกว่ากำหนดผ่านไปได้ ส่วนควาถี่ที่ต่ำกว่าจะโดนจับลง กราวด์ จากรูปจะเห็นว่า C ต่ออนุกรมกับวงจร ส่วน L ต่อขนานกับวงจร เมื่อป้อนความถี่ต่ำกว่าเข้ามา C จะมีค่า XC สูง ทำให้สัญญาณผ่านไปได้น้อย ส่วน L จะมีค่าXL น้อย ทำให้สัญญาณที่ผ่านมาจาก C ลงกราวด์ได้หมด แต่เมื่อความถี่สูงขึ้น C จะมีค่า XC ลดลง สัญญาณจะผ่านได้มากขึ้น ส่วน L จะมีค่า XL มากขึ้น สัญญาณก็จะลงกราวด์น้อยลง สัญญาณที่ออกไปยัง Output ก็มากขึ้น จนถึงระดับความแรงของสัญญาณประมาณ 70.7 % ของความแรงสูงสุด ระดับนี้เองที่เราเรียกว่า ช่วงความถี่ Cut off เมื่อความถี่สูงกว่า ความถี่ นี้ C จะยอมให้สัญญาณผ่านได้สะดวกและค่า XL จะต้านสัญญาณไม่ให้ลงกราวด์ ความถี่จึงผ่านไปที่จุด Output ได้ทั้งหมด
วงจรกรองความถี่สูงผ่าน ก็มี 2 แบบเช่นกัน
วงจรกรองความถี่สูงผ่านแบบที
วงจรกรองความถี่สูงผ่านแบบที
วงจรกรองความถี่สูงผ่านแบบที
วงจรกรองความถี่สูงผ่านแบบพาย
ตัวอย่างวงจร high pass filter ตัดความถี่ย่าน วิทยุ AM ออกไป สามารถทนกำลังส่งได้ 200 วัตต์ ใช้ C แบบ high voltage NPO ceramic capacitors
ตัวอย่างวงจร high pass filter
วงจร high pass filter ที่กล่าวมาข้างต้น จะนำมาใช้ในวิทยุรับส่ง เมื่อ ไม่ต้องการให้สัญญาณจากสถานีส่ง ที่มีความถี่ต่ำกว่า เข้ามารบกวน เช่น ที่บ้านผมอยู่ใกล้สถานีส่งวิทยุ AM ผมใช้วิทยุ ย่าน HF อยู่ คลื่นวิทยุ AM เข้ามารบกวนมาก ผมเลยใช้วงจร high pass filter กำจัดสัญญาณ AM ทิ้งไป

  • band pass filter (ช่วงความที่กำหนดผ่านได้)
band pass filter (ช่วงความที่กำหนดผ่านได้)
วงจรกรองความถี่แบบ band pass filter จะยอมให้ความถี่เฉพาะช่วงที่กำหนดให้ผ่านได้ควาถี่นอกจากนี้จะโดนตัดลงกราวด์ เราสามารถสร้างวงจร band pass filter โดยการใช้วงจร Resonance
  • ในรูปวงจรด้านซ้าย เราจะใช้วงจร วงจรเรโซแนนท์แบบอนุกรม คุณสมบัติของวงจรนี้คือ ความต้านทานต่ำที่ความถี่เรโซแนนท์ ทำให้สัญาณผ่านไปได้ง่าย แต่สำหรับความถี่อื่น ๆ ทั้งสูงกว่าและต่ำกว่าจะไหลผ่านได้ยาก
  • ในรูปวงจรด้านขวา เราจะใช้ วงจรเรโซแนนท์แบบขนาน ต่อสัญญาณลงกราวด์ คุณสมบัติของวงจรนี้คือ ความต้านทานสูงที่ความถี่เรโซแนนท์ ความถี่อื่น ๆ จะถูกดึงลงกราวด์ (เพราะมีความต้านทานต่ำ) ส่วนความถี่เรโซแนนท์ จะผ่านไปได้ (ไม่ถูกดึงลงกราวด์ เพราะความต้านทานสูง)
ตัวอย่าง band pass filter ย่านความถี่ 144 MHz +/- 7 MHz ทนกำลังส่งได้ 100 วัตต ์
ตัวอย่าง band pass filter ย่านความถี่ 144 MHz +/- 7 MHz ทนกำลังส่งได้ 100 วัตต ์
วงจร band pass filte ที่กล่าวมาข้างต้น จะนำมาใช้ในวิทยุรับส่ง เช่น เราใช้ความถี่ วิทยุสมัครเล่น 145 MHz แต่เราโดนสัญญาณรบกวนจาก สถานีวิทยุ ต่าง ๆ (ที่ใช้ความถี่อื่น) เราจำเป็นต้องใช้ตัว band pass filte ให้รับเอาเฉพาะความถี่เฉพาะที่ต้องการจริง ๆ

  • band stop (หรือ notch) filter (ช่วงความที่กำหนดผ่านไม่ได้)
band stop (หรือ notch) filter (ช่วงความที่กำหนดผ่านไม่ได้)
วงจรกรองความถี่แบบ band stop filter จะยอมให้ความถี่อื่น ๆ ผ่านไปได้สะดวก แต่สำหรับความถี่ Resonance (ความถี่ที่จะกำจัด) จะโดนดึงลงกราวด์
  • ในรูปวงจรด้านซ้าย เราจะใช้วงจร วงจรเรโซแนนท์แบบอนุกรมต่อลงกราวด์ คุณสมบัติของวงจรนี้คือ ความต้านทานต่ำที่ความถี่เรโซแนนท์ ทำให้สัญาณผ่านลงกราวด์ได้ง่ายจึงไม่มีสัญญาณออกทาง Output แต่สำหรับความถี่อื่น ๆ ทั้งสูงกว่าและต่ำกว่าวงจรจะมีความต้านทานสูง สัญญาณจะไม่ถูกดึงลงกราวด์ สามารถผ่านวงจรนี้ไปได้อย่างสบาย
  • ในรูปวงจรด้านขวา เราจะใช้ วงจรเรโซแนนท์แบบขนาน แต่มาต่ออนุกรมกับวงจร คุณสมบัติของวงจรนี้คือ ความต้านทานสูงที่ความถี่เรโซแนนท์ สัญญาณจึงไม่สามารถผ่านไปได้ แต่พอความถี่อื่น ๆ จะมีความต้านทานต่ำ สัญาณสามารถผ่านไปได้
band stop (หรือ notch) filter (ช่วงความที่กำหนดผ่านไม่ได้)
ตัวอย่าง band stop filter ใช้กับ ระบบทีวีรวม สำหรับ ป้องกันความถี่บางช่องของทีวีออกไปเลย สามารถเลือกช่องได้
Low Pass Filter
Low Pass Filter
High Pass Filter
High Pass Filter
Band Pass Filter
Band Pass Filter
Notch Filter
Notch Filter
จากรูป fco (ย่อมาจาก Cutoff frequency) เป็นจุดที่กำลังไฟฟ้าลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง Band Pass Filter จะมีจุด fco 2 จุดทั้งด้านความถี่สูง และความถี่ต่ำ ส่วน Notch Filter หมายถึง วงจร Filter แบบ band stop filter ที่มี band แคบมาก ๆ (very narrow)

CRYSTAL FILTER

วงจรภาคขยาย IF ต้องการ วงจรกรองที่มีคุณภาพ และมี band ที่แคบ (Narrow bandwidth) เพื่อจะแยกสัญญาณที่ต้องการออกจากสัญญาณอื่น ๆ ที่มีความถี่ใกล้เคียง เราไม่สามารถที่จะใช้วงจรกรองความถี่แบบ L,C ธรรมดาได้ วงจรที่เราเลือกใช้คือวงจรกรองความถี่แบบ Crystal Filter ซึ่งจะมีค่า Q และ band ที่แคบกว่าวงจรแบบอื่น ๆ
ตัวอย่างวงจร Crystal Filter แบบ Half-lattice Crystal Filter
ตัวอย่างวงจร Crystal Filter แบบ Half-lattice Crystal Filter นิยมใช้ในเครื่องรับ SSB โดยต่อหลังจากวงจร Balnced Modulator ทำหน้าที่กำจัดสัญญาณ Sideband ที่ไม่ต้องการออกไป
ตัวอย่างวงจร Crystal Filter แบบ Ladder filter
ตัวอย่างวงจร Crystal Filter แบบ Ladder filter นิยมใช้ในวงจรเครื่องรับ CW

ACTIVE FILTER

ตัวอย่างวงจร Active Filter ใช้ RC multiple - Feedback Band Pass Filter

อ่านต่อ เรื่อง ACTIVE FILTER